content-e5d4660dc2e284a49f231c8ee4837cfe

 

ความหมายของเครื่องหมาย อปพร.

(1) ธงชาติไทย หมายถึง สถาบันสูงสุดคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

(2) มือขวา หมายถึง การให้การป้องกัน ช่วยเหลือและบรรเทาภัย

(3) คลื่นน้ำ หมายถึง อุทกภัย

(4) ลมพายุ หมายถึง วาตภัย

(5) ไฟ หมายถึง อัคคีภัย

(6) ลูกระเบิด หมายถึง ลูกระเบิดนิวเคลียร์อาวุธเคมีชีวะ ภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรม

(7) ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง ความสำเร็จ

 

S  9265181

 

 

 

S  9265172

 

 

S  9265174

 

S  9265175

 

S  9265176

 

S  9265177

 

S  9265178

 

S  9265180

 

 

ลำดับที่ รายการ วันที่ประกาศ ดาวน์โหลดเอกสาร
1 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ลว.6ก.ย.65 ดาวน์โหลดเอกสาร

 

อปพร. ย่อมาจาก "อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน" ซึ่งมีกฎหมาย พรบ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

พ.ศ. 2522 รับรองอยู่อย่างเป็นทางการว่า อปพร. เป็นผู้ที่มีจิตอาสา ต้องการทำงานด้านการป้องกันภัยที่จะเกิดแก่บุคคลทั่วไป โดยครอบคลุมภัยทั้งจากไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ รวมถึงภัยที่เกิดจากคน เช่น เหตุการณ์วางระเบิด เป็นต้น

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมากว่าจะได้เป็น อปพร. นั้น จำต้องผ่านการอบรมตามระเบียบของกระทรวง

มหาดไทยซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไว้ เช่น การอบรมด้านการบรรเทาภัยที่เกิดจากไฟไหม้ การป้องกันการก่อการร้าย วิธีอพยพคน การปฐมพยาบาลคนเจ็บ ซึ่งจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรมเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีทั้งหมด 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสำหรับผู้ยังไม่เคยผ่านหลักสูตร ทสปช. หรือ "ไทยอาสาป้องกันชาติหรือหลักสูตรแบบทบทวนของ อปพร." ของกรมการปกครองโดยระยะเวลาอบรม 5 วัน หลักสูตรสำหรับทบทวนความรู้สำหรับ ทสปช. และผู้เป็น อปพร. อยู่แล้วเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาอบรม 3 วัน เป็นการพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการและการปฏิบัติเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน หน้าที่ของ อปพร. มีหน้าที่สำรวจสถานที่ต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น มุมมืด จุดอับสายตา และต้องช่วยจัดหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ มีหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยในชุมชน มีหน้าที่ช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย รักษาความสงบทั่วไป สอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ที่อาจเป็นภัยต่อสังคม ทำหน้าที่สงเคราะห์ฟื้นฟูผู้ประสบภัย ค่าตอบแทน

ช่วงแรกการก่อตั้ง อปพร. เน้นจิตอาสาในชุมชนโดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมากฎหมายได้กำหนดโดย

"คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ" กำหนดค่าตอบแทนทั่วประเทศหากปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 4 ชั่วโมงรับค่าตอบแทน 100.- บาท และหากปฏิบัติหน้าที่ 4-8 ชั่วโมง รับค่าตอบแทนเพิ่มอีก 100.- บาท (รวมเป็น 200.- บาท) และหากเกิน 8 ชั่วโมง รับค่าตอบแทน 300.- บาท ทั้งนี้ถือเป็นค่าตอบแทนที่เสียสละเวลาเพื่อสังคม