เมนูหลัก

คำสั่ง

"รับเรื่องร้องเรียน"

QRcode

1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 Rating 0.00 (0 Votes)
User Rating:  / 0
PoorBest 

 

S  66502664-500x350 

ตารางครัวเรือนตำบลบ้านฉาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566)

หมู่ จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวมช+ญ
1 537 657 767 1,424
2 1,243 2,031 2,130 4,161
3 59 117 129 246
รวม 1,839 2,805 3,026 5,831

 

พื้นที่อบต.บ้านฉาง มีจำนวนพื้นที่ 7.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,662 ไร่

หมู่ที่ 1 มีพื้นที่ 1,518.75  ไร่ คิดเป็น 2.43 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ 2,818.75 ไร่ คิดเป็น 4.51 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ 325 ไร่ คิดเป็น 0.52 ตารางกิโลเมตร


บ้านฉางเป็นชื่อตำบลหนึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสาเหตุที่ชื่อบ้านฉาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พวกมอญที่เมืองเมาะตะมะถูกพม่ากดขี่หนัก ได้อพยพเข้ามาในพระราชอาณาจักไทย เดินทางเข้ามาทางเมืองตากบ้าง เมืองอุทัยธานีบ้าง และด่านพระเจดีย์สามองค์ แขวงเมืองกาญจนบุรีบ้าง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้เตรียมการต้อนรับครอบครัวมอญอพยพครั้งนี้ ดังกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า “เมื่อทราบข่าวครัวมอญอพยพเข้ามา จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จขึ้นไปคอยรับครัวมอญอยู่ที่เมืองนนทบุรี ติดต่อเมืองปทุมธานี ให้ทำยุ้งฉางข้าวไว้ จัดจากและไม้สำหรับสร้างบ้านเรือนและเสบียงอาหารของพระราชทานออกไปรับครัวมอญทางหนึ่ง โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้ใหญ่เสด็จกำกับไปด้วย ทางเมืองตากนั้นโปรดให้เจ้าพระยาอภัยภูธร มีสมุห์นายกเป็นผู้ขึ้นรับครัวมอญถึงเมืองนนทบุรีเมื่อวันพุธ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีกุน สัปตศกจุลศักราช 1177 พ.ศ. 2358 เป็นจำนวน 50,000 เศษ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งภูมิลำเนาในแขวงเมืองปทุมธานีบ้าง เมืองนนทบุรีบ้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์บ้าง ฉางข้าวที่จัดไว้บริการมอญอพยพนั้น” ต่อมาภายหลังก็ตั้งเป็นวัดขึ้น เรียกว่า “วัดฉาง” เป็นศูนย์รวมชุมชนในเวลาต่อมา

       พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีลำคลองล้อมรอบพื้นที่ตำบล ได้แก่ คลองบางหลวง, คลองบางโพธิ์เหนือ, คลองทางหลวง, คลองคอวัง, คลองจอมทอ


แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง คลิ๊กที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารแผนที่ คลิ๊กที่นี่

j453 page-0001

สัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

banchang

ความหมายของตราสัญลักษณ์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

“ยุ้งฉาง”  หมายถึง ตำบลบ้านฉางมีพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อทำการเกษตร

“ดอกบัว”  หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร 

อักษร “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี” รวมทั้งยุ้งฉางกับดอกบัว หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร


วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

“ตำบลมุ่งพัฒนา เพียบพร้อมงานบริการ สืบสานประเพณีไทย นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ร่วมแรงต้านยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อประชาชน

 

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง เลขที่ 222 หมู่ 2 ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี

อยู่ห่างจากที่ว่าการอ.เมืองปทุมธานี ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร

มีเนื้อที่ 7.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,622 ไร่

หมู่ที่ 1 มีพื้นที่ 1,518.75 ไร่ คิดเป็น 2.43 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ 2,818.75 ไร่ คิดเป็น 4.51 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ 325 ไร่ คิดเป็น 0.52 ตารางกิโลเมตร


มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางโพธิ์เหนือเป็นแนวแบ่งเขต

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางหลวง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางหลวงเป็นแนวแบ่งเขต

 

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลบางหลวง อ.เมือง จ.ปทุมธานี

 

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองที่ขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำไปใช้ในภาคการเกษตร มีจำนวน 2 คลอง คือ

1. คลองบางหลวง

2. คลองบางโพธิ์เหนือ

 

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง คือ คลองขุดเชื่อมจากคลองบางหลวงและคลองบางโพธิ์เหนือ จำนวน 3 คลอง คือ

1. คลองทางหลวง

2. คลองคอวัง

3. คลองจอมทอ

 

ตำบลบ้านฉางมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือ

หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

 

แบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วน คือ

1. องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้

หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

 

2. เทศบาลตำบลบางหลวง

หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

ตำบลบ้านฉางเดิมมีด้วยกันทั้งหมด 7 หมู่บ้าน แต่ได้ถูกแยกไปรวมกับตำบลบางปรอก จำนวน 3 หมู่บ้าน จึงเหลือเพียง 4 หมู่บ้าน และต่อมา หมู่ที่ 3 ส่วนใหญ่ และหมู่ที่ 4 ทั้งหมู่ ได้ถูกแยกไปรวมกับเทศบาลตำบลบางหลวง ทำให้อบต.บ้านฉางมีพื้นที่รับผิดชอบ 2/4 ส่วน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 บางส่วน

 

จำนวน หมู่บ้านและชุมชน ประกอบด้วย

 

หมู่ที่ 1

1. หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ หมู่ที่ 1

2. หมู่บ้านทัศนีย์ หมู่ที่ 1

3. ชุมชนร่มไทร (ซอยนกอินทรีย์) หมู่ที่ 1

 

หมู่ที่ 2

1. หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 1 หมู่ที่ 2

2. หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 2 หมู่ที่ 2

3. หมู่บ้านนิมิตรสุข (ซอยใจเกื้อ) หมู่ที่ 2

4. หมู่บ้านบางหลวง หมู่ที่ 2

5. หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า 9 หมู่ที่ 2

6. หมู่บ้านเพชรปทุม หมู่ที่ 2           

7. หมู่บ้านราชาปทุม หมูที่ 2

8. ซอยตานาค หมู่ที่ 2

9. ชุมชนร่มเย็น หมู่ที่ 2

10. ซอยทองหล่อ หมู่ที่ 2

 

หมู่ที่ 3

1. ชุมชนสวนผัก หมู่ที่ 3

สถานที่สำคัญทางศาสนา

1. มัสยิดยามีอุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง

2. วัดนักบุญมาร์โก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง 

กลุ่มมวลชนจัดตั้ง

1. กลุ่มเกษตรกรพัฒนาตำบลบ้านฉาง ทั้ง 3 หมู่ (โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี)

2. กลุ่มสตรีตำบลบ้านฉาง

3. อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานตำบลบ้านฉาง (อสม.)

4. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตำบลบ้านฉาง (อปพร.)

5. สมาคมผู้สูงอายุตำบลบ้านฉาง

6. ชมรมเต้นแอโรบิคตำบลบ้านฉาง

7. กองทุนองค์กรสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านฉาง (ออมวันละบาท)

8. กองทุนหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่

9. กลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษตำบลบ้านฉาง

10. กองทุนแม่ของแผ่นดินตำบลบ้านฉาง

11. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อบต.บ้านฉาง

 

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในตำบลบ้านฉาง

1. บริษัทเกรทวอลล (1988) จำกัด

2. บริษัทเดอะเพ็ท จำกัด

3. บริษัทไทยมิตซูวา จำกัด (มหาชน)

thaimitsuwa

4. บริษัทปูนซีเมนนครหลวง จำกัด (มหาชน)

5. บริษัทเพชรธานีคอนกรีต จำกัด

pettanee

6. บริษัทมารีนวู๊ดเวิร์ค จำกัด

7. บริษัทลุมพินีเพนท์ จำกัด

8. บริษัทออโต้เทคนิค (ประเทศไทย) จำกัด

9. บริษัทเอส.วี.เค. เซฟแอนด์เฟอร์นิเจอร์ จำกัด

svk

11. บริษัทเอ็ม.ไอ.เอส (ประเทศไทย) จำกัด

12. บริษัทเบสคอน (ไทยแลนด์) จำกัด

beskon

13. บริษัทฮีโน่ พีที จำกัด

hino

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ไว้ 7 ยุทธศาสตร์

23 แนวทางการพัฒนา

1. ยุทธศาสตร์การศึกษา การกีฬา และการแก้ไขปัญหายาเสพติด การจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

แนวทางการพัฒนา

1. พัฒนามาตรฐานการศึกษาก่อนวัยเรียน ฯลฯ

2. สนับสนุนส่งเสริมการกีฬาแก่เยาวชนและประชาชน  สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

3. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การจัดระเบียบสังคม ฯลฯ



2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพคุณภาพชีวิต การสาธารณสุข และการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย

แนวทางการพัฒนา

1. สนับสนุนสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ

2. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฯลฯ

3. ส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนในตำบล ฯลฯ






4. ส่งเสริมการดูแลรักษาความสะอาดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ฯลฯ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

แนวทางการพัฒนา

1. ปรับปรุงก่อสร้าง, ซ่อมแซมถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง ฯลฯ

2. ปรับปรุงภูมิทัศน์, ก่อสร้างทางเดินเท้า, ท่อระบายน้ำ, ประตูท่อระบายน้ำ ฯลฯ

3. ปรับปรุงขยายเขต, ซ่อมแซมประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ

4. ก่อสร้างอาคาร, ลานกีฬา, ลานอเนกประสงค์และปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร,

ลานกีฬา, ลานอเนกประสงค์





4. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และแหล่งน้ำ

แนวทางการพัฒนา

1. อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในตำบล ฯลฯ

2. รักษาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแม่น้ำลำคลอง ฯลฯ


5. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

แนวทางการพัฒนา

1. ส่งเสริมสนับสนุนประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. ส่งเสริมงานกิจกรรมด้านศาสนาและรัฐพิธี




6. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

แนวทางการพัฒนา

1. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP

2. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิต

3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว 

7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริการจัดการ




แนวทางการพัฒนา

1. ส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชน

2. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ

3. สนับสนุนการสร้างฐานข้อมูล พัฒนาระบบสารสนเทศ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

4. สนับสนุนการดำเนินงานของ อบต.ให้มีประสิทธิภาพ

5. สนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


สถานศึกษาในตำบลบ้านฉาง

ข้อมูลทั่วไป   

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านฉาง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง ได้ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเจ้าคุณ (ชื่อเดิม) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 ตามพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จำนวน 1 ศูนย์ และเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านฉาง” ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

 

ที่ตั้งเลขที่ 46 หมู่ 3 ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี  โทรศัพท์. 02581-3372 ต่อ 202

 

ปรัชญา

 “เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ พัฒนาอย่างสมวัย พัฒนาจิตใจอย่างมีคุณธรรม”

 

วิสัยทัศน์

          “มุ่งจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กทุกคนในตำบลได้มีโอกาสพัฒนาตนตามศักยภาพและสอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข”

 

อัตลักษณ์

อ่อนน้อม ไหว้สวย มารยาทงาม ตามวัยเด็ก

 

ภารกิจ

1. การอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

2. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมด้านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย

3. จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดการแก้ปัญหา

4. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

5. พัฒนาครูและบุคลากรที่จัดการศึกษาปฐมวัย

6. พัฒนาสื่อ/แหล่งการเรียนรู้ให้เหมาะสม ปลอดภัย

 

การรับสมัครเด็กนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565

คุณสมบัติของเด็ก

1. ตั้งแต่อายุ 2.6 ปี ถึง 4 ปี (เด็กเกิดระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2563)

2. ต้องมีภูมิลำเนาหรือาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

3. ควรช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น สามารถบอกคุณครูเวลาที่ปวดปัสสาวะ หรืออื่นๆ


หลักฐานการรับสมัคร

1. ผู้สมัคร (ตัวเด็ก)

2. สำเนาสูติบัตรของเด็ก จำนวน 1 ฉบับ

3. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ

4. ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง) ของเด็ก

5. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง) (บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง)

6. รูปถ่ายของเด็กขนาด 1 นิ้ว (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 6 ใบ

7. สมุดบันทึกสุขภาพ

8. สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนของผู้ปกครองทุกคนในครอบครัว 1 ชุด

9. คู่มือเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)


ยื่นใบสมัคร

ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม ถึง 28 ตุลาคม 2565 (ในเวลาราชการ) สอบถามรายละเอียดโทร. 02-581-3372 ต่อ 202