ประชาสัมพันธ์

  • b1
  • b2
  • b3
  • b4
  • b5

ITA ปี2567

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก

กิจกรรมลดขั้นตอน

ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว

Copy Link ITA

การจัดการขยะมูลฝอย

สินค้าOTOP ตำบลบ้านฉาง

สมุนไพรนวดคลายเส้น (ป้าแก้วสมุนไพร)

สรรพคุณ : แก้ปวด คลายเส้น

ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการไหล่ตึงยกแขนไม่ขึ้น กระจายผังผืด ทาก่อนนอนช่วยผ่อนคลายจากความเครียด หลับง่ายขึ้น

3.jpg5.jpg1.jpg2.jpg4.jpg

 

การปักสไบมอญ

ความสำคัญสไบในวิถีชีวิตชาวมอญ

1.ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มประกอบการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา คนมอญโดยทั่วไปต้องเข้าวัดหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จำเป็นต้องมีการห่มผ้าสไบเฉียงติดตัวไปด้วย

2.ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งในงานประเพณี คนมอญเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่มีประเพณีพิธีกรรมมากมาย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นเทศกาลที่คนมอญให้ความสำคัญอย่างมาก มีการทำบุญตักบาตร มีการแห่หงส์ธงตะขาบในทุกชุมชนมอญ กิจกรรมอีกอย่างที่เป็นประเพณีปฏิบัติของกลุ่มคนมอญ คือการจัดงานระลึกบรรพชนมอญตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 แต่มักจะจัดขึ้นวันเสาร์-อาทิตย์ ในช่วงนั้น ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีในการมาร่วมประเพณีพิธีกรรมต่างๆ คนมอญจะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือสไบ ในการคล้องผ้าสไบจะมีการคล้องแบบคล้องคอชายของผ้าทั้งสองห้อยมาด้านหน้า

3.ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบพิธีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ตามความเชื่อเรื่องผีมอญ ชาวมอญแต่ละบ้านจะมีผ้าผีมอญวางไว้บนเรือนตรงเสาเอก 1 ใบ ภายในบรรจุผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าแดง ผ้าขาวอย่างละผืน

แหวนทองคำหัวพลอยแดงและหม้อดิน 1 ใบ ในหม้อใส่ข้าวเหนียว เงิน และข้าวตอกดอกไม้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณ หรือผีของบรรพบุรุษที่คอยปกปักดูแลลูกหลานบางบ้าน มีผ้าสไบเป็นส่วนหนึ่งของสมบัติผีรวมอยู่ด้วย

4.ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุมอญในปัจจุบัน กระแสการแสดงออกทางกลุ่มชาติพันธ์ุมีมากยิ่งขึ้น การสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ุเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา กลุ่มชาติพันธ์ุมอญได้มีการดำรงไว้ซึ่งประเพณี พิธีกรรม และศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด

2.1.jpg2.3.jpg2.2.jpg

 

การสานตะกร้าหวาย

"หวาย" เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางงานหัตถกรรมต่างๆ งานฝีมือ เนื่องจากหวายมีเนื้อเหนียว แข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดีกว่าไม่ไผ่หรือไม้จักสานชนิดอื่นๆ สามารถจักเป็นเส้นหรือแผ่นบางได้ง่าย โค้งงอได้ดี ลักษณะลำต้นปีนป่าย ไหลยาวได้มากกว่า 3 เมตร อีกทั้งยังนำมาแทนตะกร้าพลาสติกช่วยรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

3.3.jpg3.2.jpg3.1.jpg3.5.jpg3.4.jpg

เมี่ยงคำ

สรรพคุณ : รักษาธาตุทั้ง 4 เช่น น้ำอ้อย, มะพร้าว, ถั่วสงหรือเม็กมะม่วงหิมพานต์และกุ้งแห้งใช้บำรุงรักษาธาตุดิน มะนาวและใบชะพลูใช้บำรุงรักษาธาตุน้ำ หอมและพริกใช้บำรุงรักษาธาตุลม และเปลือกของมะนาวและขิงสดใช้บำรุงรักษาธาตุไฟ โดยวิธีการจัดรับประทานให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลูหรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ

4.2.jpg4.3.jpg4.1.jpg4.4.jpg

ปราชญ์ชาวบ้าน

ลำดับที่ รายการ ดาวน์โหลดเอกสาร
1 ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น (จากINFO) ดาวน์โหลดเอกสาร
2 ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
3 ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
4 ฐานข้อมูลตลาด ดาวน์โหลดเอกสาร
5 แผ่นพับภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
6 ข่าวประชาสัมพันธ์ ดาวน์โหลดเอกสาร

 

ภูมิปัญญาด้านการเกษตรผสมผสาน

การทำเกษตรผสมผสานหมุนเวียน ช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถลดรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีความมั่นคงทางด้านรายได้อย่างต่อเนื่องจากการขายผลผลิตทางการเกษตร มีความมั่นคงและมีอิสระในการใช้ชีวิต ลดการพึ่งพาจากภายนอกใช้แรงงานในการทำเกษตรจากครัวเรือน อาศัยช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ

บุคคลต้นแบบด้านการเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้แก่ นายพิมล กระจับเงิน และนายสนิท เหมือนแก้ว เป็นเกษตรกรตำบลบ้านฉาง หมู่ที่ 2 เป็นเกษตรที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือ พริก แตงกวา กระเพรา สมุนไพรต่างๆ อีกทั้งทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่ครัวเรือนขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ตามหลักเกษตรทฤฎีใหม่

3.jpg1.jpg2.jpg4.jpg

  jjjjjjk

 

 

เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"

"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านวิกฤตโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก

การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ

1.การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังให้พอมีพอกิน

2.การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา

3.การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน

ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุดให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ดังนี้

-ขุดสระเก็บกักน้ำ-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ

-ปลูกข้าว-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

-ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม่ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกันและหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้

-เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ-

พื้นที่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ

L386 page-0001

 

M103 page-0001

 

 

ลำดับที่ รายการ ดาวน์โหลดเอกสาร
1 ฝ่ายบริหาร ดาวน์โหลดเอกสาร
2 ฝ่ายนิติบัญญัติ ดาวน์โหลดเอกสาร
3 พนักงานส่วนตำบล ดาวน์โหลดเอกสาร

S  66502664-500x350

 

ตารางครัวเรือนตำบลบ้านฉาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566)

 

หมู่ จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวมชาย+หญิง
1 928 640 711 1,351
2 1,899 1,927 2,060 3,987
3 72 121 127 248
รวม 2,899 2,688 2,898 5,586

 

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร

 

พื้นที่อบต.บ้านฉาง มีจำนวนพื้นที่ 7.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,662 ไร่

หมู่ที่ 1 มีพื้นที่ 1,518.75 ไร่ คิดเป็น 2.43 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ 2,818.75 ไร่ คิดเป็น 4.51 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ 325 ไร่ คิดเป็น 0.52 ตารางกิโลเมตร

 

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ลำดับที่ ทิศ ติดต่อกับ
1 ทิศเหนือ ต.คลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางโพธิ์เหนือเป็นแนวแบ่งเขต
2 ทิศใต้ ต.บางหลวง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางโพธิ์เหนือเป็นแนวแบ่งเขต
3 ทิศตะวันออก เทศบาลเมืองปทุมธานี และ เทศบาลบางหลวง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี
4 ทิศตะวันตก ต.คูบางหลวง .ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองที่ขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร มีจำนวน 2 คลอง คือ

1.คลองบางหลวง

2.คลองบางโพธิ์เหนือ

 

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง คือ คลองขุดเชื่อมจากคลองบางหลวงและคลองบางโพธิ์เหนือ จำนวน 3 คลอง คือ

1.คลองทางหลวง

2.คลองคอวัง

3.คลองจอมทอ

 

ตำบลบ้านฉางมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือ

หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

 

แบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วน คือ

1.องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่

-หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้

-หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

-หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

2.เทศบาลตำบลบางหลวง ได้แก่

-หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

-หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

 

ตำบลบ้านฉางเดิมมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน แต่ได้ถูกแยกไปรวมกับตำบลบางปรอก จำนวน 3 หมู่บ้าน จึงเหลือเพียง 4 หมู่บ้าน และต่อมาหมู่ที่ 3 ส่วนใหญ่ และหมู่ที่ 4 ทั้งหมู่ ได้ถูกแยกไปรวมกับเทศบาลตำบลบางหลวงทำให้อบต.บ้านฉาง มีพื้นที่รับผิดชอบ 2/4 ส่วน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 บางส่วน

 

"บ้านฉาง" เป็นชื่อตำบลหยึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุที่ชื่อบ้านฉาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พวกมอญที่เมืองเมาะตะมะถูกพม่ากดขี่หนัก ได้อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาทางเมืองตากบ้าง เมืองอุทัยธานีบ้าง และด่านพระเจดีย์สามองค์ แขวงเมืองกาญจนบุรีบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เตรียมการต้อนรับครอบครัวมอญอพยพครั้งนี้ ดังกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารตอนที่หนึ่งว่า เมื่อทราบข่าวครัวมอญอพยพเข้ามา จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานบุคคล เสด็จขึ้นไปรับครัวมอญอยู่ที่เมืองนนทบุรี ติดต่อเมืองปทุมธานี ให้ทำยุ้งฉางข้าวไว้จัดจากและไม้ สำหรับสร้างบ้านเรือนและเสบียงอาหารของพระราชทานออกไปรับครัวมอญทางหนึ่ง โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้ใหญ่เสด็จกำกับไปด้วย ทางเมืองตากนั้นโปรดให้เจ้าพระยาอภัยภูธร มีสมุหนายกเป็นผู้ขึ้นรับครัวมอญถึงเมืองนนทบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีกุน สัปตศกจุลศักราช 1177 พ.ศ.2358 เป็นจำนวน 50,000 เศษ โปรดเกล้าให้ตั้งภูมิลำเนาในแขวงเมืองปทุมธานีบ้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์บ้างฉางข้างที่จัดไว้บริการมอญอพยพนั้น ต่อมาภายหลังก็ตั้งเป็นวัดขึ้น เรียกว่า "วัดฉาง" เป็นศูนย์รวมชุมชนในเวลาต่อมา

พื้นที่โดยทั่วไปของตำบลบ้านฉาง เป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีลำคลองล้อมรอบพื้นที่ตำบล ได้แก่ คลองบางหลวง ,คลองบางโพธิ์เหนือ ,คลองทางหลวง ,คลองคอวัง ,คลองจอมทอ

 

L384 page-0001

 

แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง(Google map) คลิ๊กที่นี่

 

ดาวน์โหลดแผนที่อบต.บ้านฉาง แบบที่1/แบบที่2

 

L385 page-0001

 

 

L385 page-0002

 

 

                  banchang-300x300

 

 

ความหมายตราสัญลักษณ์อบต.บ้านฉาง

"ยุ้งฉาง" หมายถึง ตำบลบ้านฉางมีพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อทำการเกษตร

"ดอกบัว" หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร

อักษร "องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี" รวมทั้ง "ยุ้งฉางและดอกบัว" หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร

 

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

"ตำบลมุ่งพัฒนา เพียบพร้อมงานบริการ สืบสานประเพณีไทย นำไปสู่ความเข้มแข็ง ร่วมแรงต้านยาเสพติด พัฒนาชีวิตเพื่อประชาชน"

 

จำนวนหมู่บ้านและชุมชน ประกอบด้วย

-หมู่ที่ 1-

1.หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์

2.หมู่บ้านทัศนีย์

3.ชุมชนร่มไทร (ซอยนกอินทรีย์)

-หมู่ที่ 2-

1.หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 1

2.หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 2

3.หมู่บ้านนิมิตรสุข (ซอยใจเกื้อ)

4.หมู่บ้านบางหลวง

5.หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า 9

6.หมู่บ้านเพชรปทุม

7.หมู่บ้านราชาปทุม

8.ซอยตานาค

9.ชุมชนร่มเย็น

10.ซอยทองหล่อ

11.ซอยวัดราษฏร์

-หมู่ที่ 3-

1.ชุมชนสวนผัก

 

สถานที่สำคัญทางศาสนา

1.มัสยิดยามีอุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง

 

madsayid2

 

 

2.วัดนักบุญมาร์โก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง

 

95140191 1761611437312193 3462521682491604992 n

 

 

กลุ่มมวลชนจัดตั้ง

1.กลุ่มเกษตรกรพัฒนาตำบลบ้านฉาง ทั้ง 3 หมู่ (โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี)

2.กลุ่มสตรีตำบลบ้านฉาง

3.อาสาสมัครสาธาณณะสุขมูลฐานตำบลบ้านฉาง (อสม.)

4.อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตำบลบ้านฉาง (อปพร.)

5.สมาคมผู้สูงอายุตำบลบ้านฉาง

6.ชมรมเต้นแอโรบิคตำบลบ้านฉาง

7.กองทุนองค์กรสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านฉาง (ออมวันละบาท)

8.กองทุนหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน

9.กลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษตำบลบ้านฉาง

10.กองทุนแม่ของแผ่นดินตำบลบ้านฉาง

11.กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อบต.บ้านฉาง (สปสช.อบต.บ้านฉาง)

 

บริษัทในตำบลบ้านฉาง

1.บริษัทปทุมดีเซลเซอวิส เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด

 

pathumdisel

 

2.บริษัทเอส.วี.เค. เซฟแอนด์เฟอร์นิเจอร์ จำกัด

 

Svk

 

 

3.บริษัทไทยมิตซูวาจำกัด (มหาชน)

 

thaimit

 

4.บริษัทมารีนวู้ดเวิร์ค จำกัด

 

mareenwood

 

5.บริษัทเกรทวอลล (1988) จำกัด

 

greatwall

 

6.บริษัทฮีโน่ทีพี จำกัด

 

hino

 

 

7.บริษัทออโต้เทคนิค (ประเทศไทย) จำกัด

 

Isuzu

 

8.บริษัทปทุมรัฐพันธุ์ปลา

 

pathumrat

 

 

9.บริษัทเบสคอน (ไทยแลนด์) จำกัด

 

bescon

 

10.บริษัทปูนซีเมนนครหลวงจำกัด (มหาชน) /(ศูนย์บริการเทคนิคปูนอินทรีย์)

 

poon

 

 

11.บริษัทเพชรธานีคอนกรีต จำกัด

 

pettanee

 

12.บริษัทเดอะเพ็ท จำกัด

 

thepet

 

13.บริษัทเอ็ม.ไอ.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด

 

MIS

 

14.บริษัทลุมพินีเพนท์ จำกัด

 

lumpinee

 

ประเมินความพึงพอใจ

scan

โครงการต้นแบบ

รับเรื่องร้องเรียน

QRcode

ช่องทางสอบถามข้อมูล (Q&A)

สถิติการเข้าเว็บไซต์

113035
วันนี้
เมื่่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1550
1178
2728
100211
20908
37716
113035

Your IP: 18.217.10.199
Server Time: 2024-09-16 20:11:42