S  66502664-500x350

 

ตารางครัวเรือนตำบลบ้านฉาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ข้อมูลวันที่ 25 กันยายน 2567)

 

หมู่ จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวมชาย+หญิง
1 997 717 831 1,548
2 1,919 1,889 2,032 3,921
3 78 115 130 245
รวม 2,994 2,721 2,993 5,714

 

ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร

 

พื้นที่อบต.บ้านฉาง มีจำนวนพื้นที่ 7.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,662 ไร่

หมู่ที่ 1 มีพื้นที่ 1,518.75 ไร่ คิดเป็น 2.43 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ 2,818.75 ไร่ คิดเป็น 4.51 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ 325 ไร่ คิดเป็น 0.52 ตารางกิโลเมตร

 

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ลำดับที่ ทิศ ติดต่อกับ
1 ทิศเหนือ ต.คลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางโพธิ์เหนือเป็นแนวแบ่งเขต
2 ทิศใต้ ต.บางหลวง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี โดยมีคลองบางโพธิ์เหนือเป็นแนวแบ่งเขต
3 ทิศตะวันออก เทศบาลเมืองปทุมธานี และ เทศบาลบางหลวง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี
4 ทิศตะวันตก ต.คูบางหลวง .ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองที่ขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร มีจำนวน 2 คลอง คือ

1.คลองบางหลวง

2.คลองบางโพธิ์เหนือ

 

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง คือ คลองขุดเชื่อมจากคลองบางหลวงและคลองบางโพธิ์เหนือ จำนวน 3 คลอง คือ

1.คลองทางหลวง

2.คลองคอวัง

3.คลองจอมทอ

 

ตำบลบ้านฉางมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือ

หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

 

แบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วน คือ

1.องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่

-หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้

-หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณ

-หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

2.เทศบาลตำบลบางหลวง ได้แก่

-หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง

-หมู่ที่ 4 บ้านวัดโคกฝั่งใต้

 

ตำบลบ้านฉางเดิมมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน แต่ได้ถูกแยกไปรวมกับตำบลบางปรอก จำนวน 3 หมู่บ้าน จึงเหลือเพียง 4 หมู่บ้าน และต่อมาหมู่ที่ 3 ส่วนใหญ่ และหมู่ที่ 4 ทั้งหมู่ ได้ถูกแยกไปรวมกับเทศบาลตำบลบางหลวงทำให้อบต.บ้านฉาง มีพื้นที่รับผิดชอบ 2/4 ส่วน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 บางส่วน

 

"บ้านฉาง" เป็นชื่อตำบลหยึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุที่ชื่อบ้านฉาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พวกมอญที่เมืองเมาะตะมะถูกพม่ากดขี่หนัก ได้อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาทางเมืองตากบ้าง เมืองอุทัยธานีบ้าง และด่านพระเจดีย์สามองค์ แขวงเมืองกาญจนบุรีบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เตรียมการต้อนรับครอบครัวมอญอพยพครั้งนี้ ดังกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารตอนที่หนึ่งว่า เมื่อทราบข่าวครัวมอญอพยพเข้ามา จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานบุคคล เสด็จขึ้นไปรับครัวมอญอยู่ที่เมืองนนทบุรี ติดต่อเมืองปทุมธานี ให้ทำยุ้งฉางข้าวไว้จัดจากและไม้ สำหรับสร้างบ้านเรือนและเสบียงอาหารของพระราชทานออกไปรับครัวมอญทางหนึ่ง โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้ใหญ่เสด็จกำกับไปด้วย ทางเมืองตากนั้นโปรดให้เจ้าพระยาอภัยภูธร มีสมุหนายกเป็นผู้ขึ้นรับครัวมอญถึงเมืองนนทบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีกุน สัปตศกจุลศักราช 1177 พ.ศ.2358 เป็นจำนวน 50,000 เศษ โปรดเกล้าให้ตั้งภูมิลำเนาในแขวงเมืองปทุมธานีบ้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์บ้างฉางข้างที่จัดไว้บริการมอญอพยพนั้น ต่อมาภายหลังก็ตั้งเป็นวัดขึ้น เรียกว่า "วัดฉาง" เป็นศูนย์รวมชุมชนในเวลาต่อมา

พื้นที่โดยทั่วไปของตำบลบ้านฉาง เป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีลำคลองล้อมรอบพื้นที่ตำบล ได้แก่ คลองบางหลวง ,คลองบางโพธิ์เหนือ ,คลองทางหลวง ,คลองคอวัง ,คลองจอมทอ

 

L384 page-0001

 

แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง(Google map) คลิ๊กที่นี่

 

ดาวน์โหลดแผนที่อบต.บ้านฉาง แบบที่1/แบบที่2

 

L385 page-0001

 

 

L385 page-0002

 

 

                  banchang-300x300

 

 

ความหมายตราสัญลักษณ์อบต.บ้านฉาง

"ยุ้งฉาง" หมายถึง ตำบลบ้านฉางมีพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อทำการเกษตร

"ดอกบัว" หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร

อักษร "องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี" รวมทั้ง "ยุ้งฉางและดอกบัว" หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหาร

 

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง

"ตำบลมุ่งพัฒนา เพียบพร้อมงานบริการ สืบสานประเพณีไทย นำไปสู่ความเข้มแข็ง ร่วมแรงต้านยาเสพติด พัฒนาชีวิตเพื่อประชาชน"

 

จำนวนหมู่บ้านและชุมชน ประกอบด้วย

-หมู่ที่ 1-

1.หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์

2.หมู่บ้านทัศนีย์

3.ชุมชนร่มไทร (ซอยนกอินทรีย์)

-หมู่ที่ 2-

1.หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 1

2.หมู่บ้านทรัพย์หมื่นแสน 2

3.หมู่บ้านนิมิตรสุข (ซอยใจเกื้อ)

4.หมู่บ้านบางหลวง

5.หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า 9

6.หมู่บ้านเพชรปทุม

7.หมู่บ้านราชาปทุม

8.ซอยตานาค

9.ชุมชนร่มเย็น

10.ซอยทองหล่อ

11.ซอยวัดราษฏร์

-หมู่ที่ 3-

1.ชุมชนสวนผัก

 

สถานที่สำคัญทางศาสนา

1.มัสยิดยามีอุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง

 

madsayid2

 

 

2.วัดนักบุญมาร์โก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านฉาง จำนวน 1 แห่ง

 

95140191 1761611437312193 3462521682491604992 n

 

 

กลุ่มมวลชนจัดตั้ง

1.กลุ่มเกษตรกรพัฒนาตำบลบ้านฉาง ทั้ง 3 หมู่ (โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี)

2.กลุ่มสตรีตำบลบ้านฉาง

3.อาสาสมัครสาธาณณะสุขมูลฐานตำบลบ้านฉาง (อสม.)

4.อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตำบลบ้านฉาง (อปพร.)

5.สมาคมผู้สูงอายุตำบลบ้านฉาง

6.ชมรมเต้นแอโรบิคตำบลบ้านฉาง

7.กองทุนองค์กรสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านฉาง (ออมวันละบาท)

8.กองทุนหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน

9.กลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษตำบลบ้านฉาง

10.กองทุนแม่ของแผ่นดินตำบลบ้านฉาง

11.กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อบต.บ้านฉาง (สปสช.อบต.บ้านฉาง)

 

บริษัทในตำบลบ้านฉาง

1.บริษัทปทุมดีเซลเซอวิส เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด

 

pathumdisel

 

2.บริษัทเอส.วี.เค. เซฟแอนด์เฟอร์นิเจอร์ จำกัด

 

Svk

 

 

3.บริษัทไทยมิตซูวาจำกัด (มหาชน)

 

thaimit

 

4.บริษัทมารีนวู้ดเวิร์ค จำกัด

 

mareenwood

 

5.บริษัทเกรทวอลล (1988) จำกัด

 

greatwall

 

6.บริษัทฮีโน่ทีพี จำกัด

 

hino

 

 

7.บริษัทออโต้เทคนิค (ประเทศไทย) จำกัด

 

Isuzu

 

8.บริษัทปทุมรัฐพันธุ์ปลา

 

pathumrat

 

 

9.บริษัทเบสคอน (ไทยแลนด์) จำกัด

 

bescon

 

10.บริษัทปูนซีเมนนครหลวงจำกัด (มหาชน) /(ศูนย์บริการเทคนิคปูนอินทรีย์)

 

poon

 

 

11.บริษัทเพชรธานีคอนกรีต จำกัด

 

pettanee

 

12.บริษัทเดอะเพ็ท จำกัด

 

thepet

 

13.บริษัทเอ็ม.ไอ.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด

 

MIS

 

14.บริษัทลุมพินีเพนท์ จำกัด

 

lumpinee