ปราชญ์ชาวบ้าน

ลำดับที่ รายการ ดาวน์โหลดเอกสาร
1 ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น (จากINFO) ดาวน์โหลดเอกสาร
2 ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
3 ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
4 ฐานข้อมูลตลาด ดาวน์โหลดเอกสาร
5 แผ่นพับภูมิปัญญาท้องถิ่น ดาวน์โหลดเอกสาร
6 ข่าวประชาสัมพันธ์ ดาวน์โหลดเอกสาร

 

ภูมิปัญญาด้านการเกษตรผสมผสาน

การทำเกษตรผสมผสานหมุนเวียน ช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถลดรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีความมั่นคงทางด้านรายได้อย่างต่อเนื่องจากการขายผลผลิตทางการเกษตร มีความมั่นคงและมีอิสระในการใช้ชีวิต ลดการพึ่งพาจากภายนอกใช้แรงงานในการทำเกษตรจากครัวเรือน อาศัยช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ

บุคคลต้นแบบด้านการเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้แก่ นายพิมล กระจับเงิน และนายสนิท เหมือนแก้ว เป็นเกษตรกรตำบลบ้านฉาง หมู่ที่ 2 เป็นเกษตรที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือ พริก แตงกวา กระเพรา สมุนไพรต่างๆ อีกทั้งทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่ครัวเรือนขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ตามหลักเกษตรทฤฎีใหม่

3.jpg1.jpg2.jpg4.jpg

  jjjjjjk

 

 

เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"

"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านวิกฤตโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก

การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ

1.การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังให้พอมีพอกิน

2.การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา

3.การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน

ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุดให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ดังนี้

-ขุดสระเก็บกักน้ำ-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ

-ปลูกข้าว-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

-ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก-

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม่ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกันและหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้

-เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ-

พื้นที่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ