อำนาจหน้าที่ ดาวน์โหลดเอกสาร
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
1.มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (มาตรา 67)
2.ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
(1)จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(1/1)รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(2)รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3)ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(4)ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
(5)จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนรวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(6)ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(7)คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8)บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
3.ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉางอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
(1)ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(2)ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3)ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4)ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(5)ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(6)ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7)บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(8)การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
(9)หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(10)ให้มีตลาด ท่าเรือเทียบ และท่าข้าม
(11)กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(12)การท่องเที่ยว
(13)การผังเมือง
4.การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทวงกรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้อบต.ทราบล่วงหน้าตามสมควรหากอบต.มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของอบต.ไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
5.การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)
6.มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบลเว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)
7.ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)
8.อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของอบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)
9.อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
1.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (มาตรา 16)
(1)กาจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2)การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ ทางระบายน้ำ
(3)การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4)การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
(5)การสาธารณูปการ
(6)การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7)การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
(8)การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9)การจัดการศึกษา
(10)การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11)การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12)การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13)การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14)การส่งเสริมกีฬา
(15)การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17)การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18)การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19)การสาธารณะสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20)การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21)การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22)การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23)การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ
(24)การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25)การผังเมือง
(26)การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27)การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28)การควบคุมอาคาร
(29)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30)การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(31)กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2.อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น